ผิวของสแตนเลส

Last updated: 22 เม.ย 2556  |  7153 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผิวของสแตนเลส

วิธีการขัดผิวต่างๆ
ผิวสเตนเลส (รีดเย็น) โดยทั่วไปมีหลากหลายแบบเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้หลากหลายประเภท ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

ชื่อ ผิว วิธีการขัด
BA เป็นผิวสแตนเลสแบบมันเงา  มีความสะท้อนแสง  54%
2D ผิวด้านไม่เงา  มีความสะท้อนแสง  13%  ผลิตโดยวิธีการรีดเย็นจากโรงงาน
ตามด้วยการอบอ่อน  และขจัดคราบออกไซด์ออก
2B ลักษณะผิวจะเงาขึ้นเล็กน้อยจากผิว  2D  มีความสะท้อนแสง  22%
ในเกรดออสเทนนิติค  (304,316) และ  46% เกรดเฟอร์ริติค  (410,430)
NO.4 เป็นผิวที่มีการขัดด้วยกระดาษทราย  เบอร์  150-180
NO.5 เป็นผิวขัด NO.4  ที่ผ่านเครื่องปรับผิว (SKIN  PASS)
NO.6 เป็นผิวขัดด้วยวัสดุขัดเบอร์  200-300
NO.7 เป็นผิวขัดด้วยวัสดุขัดประเภทผ้าสักหลาด (BUFFING)
NO.8 ขัดผิวให้มีความเงาเหมือนกระจก (MIRROR FINISH
ผ่านการขัดด้วยวัสดุประเภทสำลี  หรือผ้าสักหลาด
HL ขัดผิวอย่างละเอียดด้วยกระดาษทรายให้มีรอยเป็นเส้นต่อเนื่องคล้ายเส้นผม
 
ขัดผิวสเตนเลสให้ได้ผิวที่เหมาะแก่การใช้งานนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา เช่นเดียวกันโดยวิธีการขัดที่นิยมใช้ ได้แก่


การขัดผิวด้วยกระบวนการเชิงกล (Mechanical Polishing) นิยมใช้กับสเตนเลสที่เป็นแผ่นหนา หรือสเตนเลสในลักษณะเป็นม้วน (coil)
            การขัดผิวด้วยกระบวนการทางเคมี (Chemical Polishing) นิยมใช้กับชิ้นงานสเตนเลสขนาดเล็ก และบาง เช่น สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ซึ่งไม่เหมาะที่จะขัดด้วยกระบวนการขัดเชิงกล
            การขัดผิวด้วยกระบวนการทางไฟฟ้า ( Electro Polishing) นิยมใช้กับชิ้นงานสเตนเลสที่ต้องการความละเอียด และความสะอาดของผิวสูง เช่น อุปกรณ์ สำหรับผลิตยา หรือเครื่องสำอาง
           
            หมายเหตุ "L" Grades แสดง ถึงสเตนเลสนั้นมีคาร์บอนผสมอยู่น้อย (Low Carbon) ซึ่ง L เกรด จะเพิ่มความต้านทานพิเศษของการกัดกร่อนตามขอบเกรน แม้ผ่านการเชื่อมมาแล้ว แต่สเตนเลสชนิด L เกรด ราคาจะสูงกว่าชนิดธรรมดา เช่น 304L, 316L เป็นต้น

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้